Silent Emergency | วิกฤตผู้ลี้ภัยที่ถูกลืม

คุณเคยได้ยินชื่อประเทศเหล่านี้ไหม?

ชาด เอริเทรีย บูร์กินาฟาโซ ไนเจอร์ แองโกลา มาลาวี ฯลฯ และไม่ใช่เพียงแค่ประเทศเหล่านี้ที่เราไม่ค่อยคุ้นหู คุ้นตากัน ยังรวมไปถึงประเทศอย่าง เอธิโอเปีย ซูดาน ซูดานใต้ โมซัมบิก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฯลฯ ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในทวีปแอฟริกาที่กำลังเผชิญกับวิกฤตมากมายอย่าง แผ่นดินไหว อุทกภัย ไฟไหม้ ดินถล่ม และกำลังถูกลืมเลือน เสมือนว่าประเทศเหล่านี้กำลังถูกเลือนหายไปจากแผนที่โลก

ต่างกับวิกฤตที่สื่อให้ความสำคัญและเป็นที่ให้ความสนใจของผู้คนอย่าง สงครามยูเครน-รัสเซีย สงครามซีเรีย ฯลฯ เนื่องจากวิกฤตในประเทศแถบแอฟริกานั้น เกิดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน จนแทบไม่ได้รับการมองเห็น และไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคม ทำให้หลายล้านชีวิตต้องดิ้นรนเอาตัวรอด
เพื่อให้ยังมีชีวิตก้าวข้ามวันพรุ่งนี้ไปได้

โลกของเรากำลังเผชิญกับการพลัดถิ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กว่า 110 ล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัยหรือต้องพลัดถิ่นในประเทศบ้านเกิด

ในปี 2565 มีจำนวนผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นและคนไร้รัฐ ทะลุ 112.6 ล้านคน ภายในเวลาเพียง 10 ปี มีผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นถึง 35.8 ล้าน ซึ่ง วิกฤตที่ถูกลืม หรือ Silent Emergency ในทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่เกิดการพลัดถิ่นและมีผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลก เช่น ประเทศชาด โซมาเลีย เอธิโอเปีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฮอร์นออฟแอฟริกา โมซัมบิก ภูมิภาคซาเฮล และอีกมากมาย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทั้งหมดมีส่วนทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการพลัดถิ่นและความต้องการการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลกที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยผู้พลัดถิ่นทุก ๆ 100 คน เป็นเด็ก 41 คนหรือคิดเป็น 41%​ เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่พักพิงทั่วโลก ไม่มีอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้เด็กเล็กที่เป็นผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นเกือบทั้งหมด ​มีร่างกายอ่อนแอ แคระแกร็น ภาวะขาดสารอาหาร และโลหิตจาง จนทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุก ๆ 1,000 คน จะมี 2 คนเสียชีวิตทุกเดือน

Empathy Emergency Fund กองทุนภาวะฉุกเฉิน

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ  จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1950 จากเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีบทบาทเป็นผู้นำและสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยทั่วโลกมา ตลอด 73 ปีที่ผ่านมา ทำงานอยู่ในมากกว่า 137 ประเทศทั่วโลก มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 17,000 คน ได้จัดตั้งกองทุนภาวะฉุกเฉิน Empathy Emergency Fund ขึ้นสำหรับพร้อมใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดย UNHCR มีความพร้อมและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความคุ้มครอง ที่พร้อมทิ้งทุกอย่างและลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง เราให้ความช่วยเหลือทุกด้านในความเป็นมนุษย์ของผู้ลี้ภัย ตั้งแต่อาหาร น้ำสะอาด ที่พักพิง การรักษาพยาบาล การศึกษา คืนครอบครัวที่พลัดพราก เอกสารยืนยันตัวตน เยียวยาฟื้นฟูจิตใจ ไปจนถึงการช่วยให้พวกเขาได้เริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ปีที่ผ่านมา UNHCR มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในวิกฤตฉุกเฉินให้แก่ 25 ล้านคน แต่ยังไม่เพียง-พอกับความต้องการ ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ยังรอคอยความช่วยเหลือ  UNHCR ต้องเผชิญความท้าทายเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณอย่างมากจากสถานการณ์ความขัดแย้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความรุนแรงที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและยาวนานต่อเนื่อง ผู้คนมากมายต้องเผชิญกับการถูกบังคับให้พลัดถิ่นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

แต่ละวิกฤตมีความต่อเนื่องยาวนานและซับซ้อนอย่างมาก ในทุกวิกฤต ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เด็กกำพร้า หรือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การได้กลับบ้าน ได้รับการรักษาพยาบาล ได้รับที่พักพิง ได้โอกาสในการทำงาน ได้กลับไปโรงเรียน ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ได้สัญชาติ หรือการได้กลับมาพบกับครอบครัวที่พลัดพรากอีกครั้ง ความต้องการเหล่านี้อาจยังคงอยู่ไปอีกนาน แม้วิกฤตจะจางหายไปจากหัวข้อข่าว แต่ UNHCR จะยังอยู่ในพื้นที่ ส่งมอบความช่วยเหลือ ช่วยให้พวกเขาสร้างชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

UNHCR เตรียมความพร้อมเสมอเพื่อตอบสนองในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3 ด้านหลักดังนี้


1. การส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์

UNHCR มีคลังเก็บสิ่งของบรรเทาทุกข์ 7 แห่ง ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ละแห่งเก็บรักษาสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็นที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น เต็นท์ ผ้าห่ม เสื่อนอน และชุดอุปกรณ์การประกอบอาหารที่พร้อมลำเลียงไปยังพื้นที่ภายใน 72 ชั่วโมง

2. การระดมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เจ้าหน้าที่ UNHCR ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้ความคุ้มครอง ด้านที่พักพิง ด้านน้ำสะอาด ด้านสุขอนามัย และด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นจะทิ้งทุกอย่างเพื่อให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง หลายคนเตรียมกระเป๋าพร้อมเดินทางตลอดเวลา

 3. งบประมาณในการช่วยชีวิต

ทีมที่ให้การตอบสนองในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องเข้าถึงงบประมาณทันที เพื่อให้สามารถจัดหาอุปกรณ์การสร้างที่พักพิง และอาหารจากในพื้นที่ได้ รวมไปถึงการจัดตั้งจุดลงทะเบียน จุดผ่านแดน และอื่น ๆ อีกมากมายความพร้อม และการเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยชีวิต ไม่ต่างจากการเตรียมทรัพยากรให้มีเพียงพอ และฝึกฝนเจ้าหน้าที่ให้พร้อมตลอดเวลา

ความช่วยเหลือที่ UNHCR มอบให้ผู้ลี้ภัย

ในภาวะฉุกเฉินผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นต้องหนีเพื่อเอาชีวิตรอดจากสงครามและความรุนแรง ต้องละทิ้งทุกอย่างไว้ข้างหลัง ส่วนใหญ่มักต้องหนีออกมา โดยมีเพียงเสื้อผ้าและสิ่งของเล็กน้อยที่สามารถเอาติดตัวมาได้ แม้ว่า การทำงานด้านมนุษยธรรมในวิกฤตฉุกเฉินของ UNHCR จะแตกต่างกันไปตามสถานที่และบริบท แต่เราพร้อมที่จะ ให้ความช่วยเหลือ มอบความคุ้มครองต่างๆ ในทันทีหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึง

  • ที่พักพิงที่ปลอดภัย เช่น เต็นท์ ผ้าใบกันน้ำ และแผ่นพลาสติก
  • เครื่องนอนที่ป้องกันความเสี่ยงจากการนอนในพื้นที่เปิด เช่น ผ้าห่ม เสื่อรองนอน และถุงนอน เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น
  • ชุดครัวสำหรับทำอาหารและรับประทานอาหาร
  • ภาชนะบรรจุน้ำและถังน้ำ
  • เงินสดช่วยเหลือฉุกเฉิน (ผ่านการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเงินสด หรือคูปองเงินสด)
  • การเยียวยาจิตใจทันทีหลังการสูญเสีย
  • การลงทะเบียนไบโอเมตริกซ์ให้ผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือในทุกที่ที่เขาเดินทางไปถึง
  • การจัดตั้งศูนย์ต้อนรับผู้พลัดถิ่นที่เข้ามาใหม่ และศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น มีที่พักที่ปลอดภัยในระยะสั้นและระยะกลาง
  • การเข้าถึงชุมชนผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น (ด้วยตัวผู้ลี้ภัยเอง ทางออนไลน์ หรือทางสายด่วนทางโทรศัพท์) เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็น
  • การสนับสนุนการกลับคืนครอบครัวที่พลัดพรากจากสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • การมอบความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ เช่น เด็กที่ลี้ภัยเพียงลำพัง ผู้หญิง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความพิการ

เต็นท์ครอบครัว = 16,135 บาท

สำหรับครอบครัวผู้ลี้ภัยที่ถูกบังคับให้ต้องหนีออกจากบ้าน ที่พักพิงที่ปลอดภัย ช่วยคุ้มครองพวกเขาจากอันตรายที่เกิดจากความเสี่ยงในพื้นที่โล่ง บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอากาศที่หนาวหรือร้อนจัดให้พวกเขาได้รู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านอีกครั้ง เต็นท์สำหรับครอบครัว UNHCR สร้างขึ้นเพื่อให้ทนฝนและแดดได้ทั้งร้อนและเย็น และมีอายุการใช้งานหนึ่งปี โดยมีห้องสำหรับห้าคนสำหรับนอนและอยู่อาศัย

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 77,986 ล้านบาท

© UNHCR/Roqan Ojomo

ผ้าใบพลาสติกกันน้ำอเนกประสงค์ = 490 บาท

ผ้าพลาสติกอเนกประสงค์ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ที่พักพิง ใช้ทำเป็นหลังคาเพื่อกันแดด ฝนและลมแรง เช่น ในพื้นที่ค่ายที่เป็นทะเลทราย หรือกั้นเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้หญิง

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 14,210 ล้านบาท

© UNHCR/Olivier Jobard

ผ้าห่ม = 210 บาท

ในภาวะฉุกเฉิน ผู้ลี้ภัยต้องรีบหนีออกจากบ้านทันที ทำให้ไม่มีใครสามารถเตรียมตัวเก็บสัมภาระได้ทัน และผ้าห่มก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะช่วยปกป้องให้ผู้ลี้ภัยให้ได้รับความอบอุ่นจากอากาศที่หนาวเย็น ยังช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า และหวาดกลัวจากความสูญเสียหรือความโหดร้ายที่เผชิญ ช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยอีกครั้ง

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 6,090 ล้านบาท

ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ = 1,015 บาท

แสงสว่างคือความคุ้มครอง ค่ายผู้ลี้ภัยมักอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือบริเวณชายแดน หลังพระอาทิตย์ตกทั่วทั้งพื้นที่มืดสนิท แสงสว่าง ทำให้ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ชีวิตในความมืดได้ ทั้งการประกอบอาหารใช้ห้องน้ำ เด็ก ๆ สามารถอ่านหนังสือ นอกจากนี้แสงสว่างยังช่วยคุ้มครองพวกเขาจากความเสี่ยงจากการถูกคุกคามและล่วงละเมิด

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 29,435 ล้านบาท

© UNHCR/Roger Arnold

ถังเก็บน้ำสะอาด = 105 บาท

คนปกติทั่วไปจะใช้ประมาณ 20 ลิตรต่อวัน แต่ด้วยความหนาแน่นของประชากรในค่าย ทำให้ผู้ลี้ภัยได้รับน้ำสะอาดเพียงคนละ 4 ลิตรต่อวัน UNHCR ได้มอบถังน้ำสะอาดให้ผู้ลี้ภัยสามารถสำรองน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ เนื่องจากที่พักพิงบางแห่งอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ การมีภาชนะเก็บน้ำสะอาดที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละวัน ลดความ
เสี่ยงจากการถูกคุกคามต่าง ๆ ระหว่างทางและการเกิดโรคระบาด

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 3,045 ล้านบาท

© UNHCR/Olivier Jobard

เสื่อนอน = 70 บาท

เสื่อช่วยปกป้องเด็ก ๆ และครอบครัวจากการนอนบนพื้นเปล่าช่วยให้พวกเขานอนหลับสบายขึ้น และป้องกันความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากสัตว์เล็ก ๆ และแมลง

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 2,030 ล้านบาท

© UNHCR/Sebastian Rich

มุ้งกันยุง = 70 บาท

จากรายงานของ UNHCR  1 ใน 5 อันดับโรคที่พรากชีวิตเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 5 ขวบมากที่สุด คือ โรคมาลาเรีย ซึ่งมุ้งกันยุงเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยคุ้มครองเด็ก ๆ และครอบครัวผู้ลี้ภัยจากโรคร้ายจากยุงและแมลง ที่เป็นพาหะของโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะในพื้นที่ค่ายที่อยู่ห่างไกลและลึกเข้าไปในป่า

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 2,030 ล้านบาท

© UNHCR/Maciej Moskwa

ชุดอุปกรณ์ครัว = 770 บาท

ผู้ลี้ภัยล้วนเคยมีความสุขกับครอบครัว ในการรับประทานอาหารด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตา แต่เมื่อต้องมาเป็นผู้ลี้ภัย การที่มีอาหารตกถึงท้อง เป็นเรื่องลำบาก การได้รับชุดครัวจะช่วยเติมเต็มช่วงเวลาที่สงบสุข และคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และได้รับความสงบทางจิตใจอีกครั้ง

*งบประมาณที่ต้องการสำหรับผู้ลี้ภัย 29 ล้านคนในแอฟริกา = 22,330 ล้านบาท

วิกฤตฉุกเฉินที่เราทุกคนช่วยได้

โดยเฉลี่ย UNHCR ทำงานตอบสนองต่อวิกฤตใหม่ทุก 8-10 วัน เพื่อช่วยชีวิต มอบความคุ้มครอง ให้ความช่วยเหลือ ไปจนถึงการสนับสนุนการหาทางออกที่ยั่งยืนให้กับผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัจจุบัน UNHCR ประเทศไทย เปิดตัว “Empathy Emergency Fund” หรือ “กองทุนภาวะฉุกเฉิน” ระดมทุนเพื่อสนับสนุนการทำงาน และการให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ต่าง ๆ  ทั่วโลกอย่างครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้ UNHCR สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เข้าถึงผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือได้มากที่สุด ด้วยความเร่งด่วน รวดเร็ว และคล่องตัวมากที่สุด

 ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในภาวะฉุกเฉินผ่าน https://www.unhcr.or.th/donate/silent-emergency หรือโอนผ่านธนาคารที่

  • ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB)  ชื่อบัญชี UNHCR Special Account
    เลขที่บัญชี 004-225-8596
  • ธ.กสิกรไทย (K BANK) ชื่อบัญชี UNHCR Special Account
    เลขที่บัญชี 030-288-8043

ร่วมบริจาคออนไลน์