ข้อมูลจากสำนักจุฬาราชมนตรีระบุว่า ซะกาต หลักปฏิบัติทางศาสนาที่สำคัญของชาวมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นการบริจาคเพื่อแสดงความเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ และถูกบัญญัติให้เป็นวินัยทางศาสนาอิสลามที่กำหนดให้ชาวมุสลิมทั้งบุคคล และนิติบุลคลต้องบริจาคซะกาตในอัตราที่เหมาะสม
ซะกาต คืออะไรและสำคัญมากขนาดไหน
ซะกาต คือบทบัญญัติทางศาสนาที่กำหนดให้ชาวมุสลิมต้องมอบทรัพย์สินเงินทอง สินค้า อาหารให้กับบุคคลที่อัลลอฮ์กำหนดไว้ในอัลกุรอาน โดยการบริจาคซะกาตเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ และสภาพเศรษฐกิจของชุมชนมุสลิม คล้ายกับการจ่ายภาษีที่จะต้องนำเงินส่วนนี้มาบริหารประเทศ และทำนุบำรุงบ้านเมือง
แม้ในปัจจุบันซะกาตจะไม่ได้เป็นข้อบังคับเหมือนอย่างครั้งอดีต แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นความสมัครใจ เพราะหากเปรียบเทียบการจ่ายซะกาตคล้ายคลึงกับการจ่ายภาษีแล้ว การบริจาคซะกาตก็จัดว่ามีความสำคัญ และจำเป็นต่อการพัฒนาสังคมอย่างยิ่ง
รูปแบบการจ่ายซะกาต
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร และสำนักจุฬาราชมนตรีได้มีการอธิบายการบริจาคซะกาตไว้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- การบริจาคฟิฏเราะห์ : เมื่อมุสลิมท่านใดมีความสามารถในการหารายได้ ต้องบริจาครายได้ส่วนหนึ่งให้กับพี่น้องมุสลิมที่ขัดสน ยากจน และยากไร้ในเดือนรอมฎอน
- ทั้งนี้ ผู้บริจาคต้องมอบข้าวสาร 3 ลิตร หรือเลือกจ่ายเงินตามมูลค่าของข้าวสารจำนวนดังกล่าวก็ได้เช่นเดียวกัน
- การบริจาคมาล (บริจาคทรัพย์สิน) : มุสลิมท่านใดที่มีทรัพย์สินสะสมไว้ตามอัตราที่กำหนด จะต้องบริจาคซะกาตมาลเริ่มต้นที่ร้อยละ 2.5 ไปจนถึงร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามต้องมีการคิดคำนวณซะกาตเพื่อหาจำนวนที่ต้องจ่ายอย่างเหมาะสม
โดย UNHCR รับบริจาคซะกาตในรูปแบบของเงิน เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในด้านของปัจจัย 4 ตามความต้องการพื้นฐานให้กับผู้ที่ต้องการ และสมควรได้รับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักจุฬาราชมนตรี
การคิดคำนวณซะกาตตามสัดส่วนของรายได้
จากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร ระบุว่า เพื่อให้การจ่ายซะกาตเป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม อัตราการจ่ายจึงมีความแตกต่างกันโดยผู้ที่ต้องจ่ายจะต้องเป็นผู้ที่มีเงินรวม 1 ปีมากกว่าหรือเท่ากับทองคำ 85 กรัม หรือประมาณ 5.576 บาท (หรือประมาณ 208,300 บาท อ้างอิงจากราคาทองปัจจุบัน) จะต้องบริจาคในอัตรา 2.5% โดยวิธีการคำนวณซะกาตนั้นจะคิดจาก
เงินสดติดตัว + เงินในบัญชีธนาคาร (หักลบดอกเบี้ยที่ได้รับในรอบ 1 ปี) + เงินตราต่างประเทศ (ถ้ามี) x 0.025 = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายซะกาตในปีนั้น
ตัวอย่างการคำนวณ
30,000 + 220,000 + 15,000 = 265,000 บาท
จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่มีตลอดทั้งปีคือ 265,000 บาท ซึ่งมากกว่าราคาทองคำ 5.576 บาท กรณีนี้ต้องจ่ายซะกาต โดยนำไปคิดต่อเป็น 265,000 x 0.025 = 6,625 บาท
สรุปว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพื่อบริจาคซะกาตอยู่ที่ 6,625 บาท
ท่านสามารถคำนวณซะกาตได้ที่ คำนวณซะกาต
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร
ผู้ที่เข้าข่ายต้องจ่ายซะกาตมีใครบ้าง
สำหรับผู้ที่อยู่เกณฑ์ที่จะต้องจ่ายซะกาตนั้น มีคุณสมบัติคือเป็นผู้ที่ครอบครองทรัพย์สิน มีความสามารถในการทำงานหารายได้ ผู้ที่มีผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ได้ครอบครองขุมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่พบได้ในแผ่นดิน
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักจุฬาราชมนตรี
ผู้ที่สามารถรับซะกาตได้ต้องเป็นคนกลุ่มไหน
นอกจากการบริจาคซะกาตจะเป็นหน้าที่และเป็นเรื่องของความสมัครใจสำหรับชาวมุสลิมที่อยู่ในเงื่อนไขก็ตาม แต่การเป็นผู้รับบริจาคได้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน โดยผู้ที่สามารถรับซะกาตได้มีอยู่ 8 กลุ่มด้วยกัน คือ
- ผู้ที่มีฐานะยากจน (ฟากิร)
- ผู้ที่มีความขัดสน (มีสกีน)
- ผู้ที่คอยรวบรวมและจัดการซะกาต
- ผู้ที่กำลังสนใจในศาสนาอิสลาม
- ผู้เป็นทาสและเชลย
- ผู้ที่มีหนี้สินมากมายเกินตัว
- ผู้ทำงานตามหนทางของอัลลอฮฺ
- ผู้ที่ขัดสนปัจจัยในการเดินทาง
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร
ร่วมบริจาคซะกาตผ่านโครงการ UNHCR
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบซะกาต UNHCR ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมโครงการบริจาคซะกาต เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นที่ทุกข์ยาก การบริจาคในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการศาสนา (ฟัตวา) และได้รับการรับรองจากสถาบันชั้นนำทางศาสนารวมถึงจากสำนักจุฬาราชมนตรี โดยการบริจาคซะกาตผ่านทางโครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้องและทานประจำปีซะกาต” โดย UNHCR ร่วมกับสำนักจุฬาราชมนตรี จะถูกนำไปช่วยเหลือจำนวน 100% ให้กับหลายโครงการ เช่น
- เด็ก ผู้หญิง และผู้ยากไร้ ที่กำลังพลัดถิ่นและเปราะบางที่ยากไร้
- ผู้ลี้ภัยและครอบครัวผู้พลัดถิ่นที่กำลังเดินทางเพื่อแสวงหาพื้นที่ปลอดภัยจากภาวะสงคราม หรือภัยพิบัติ
- แม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องสูญเสียผู้นำครอบครัวในความขัดแย้ง
- ผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นที่ขัดสน มีหนี้สินจากการที่ต้องกู้ยืมมาใช้เพื่อความอยู่รอดในการใช้ชีวิต
อ่านข้อมูลโครงการซะกาตของ UNHCR ได้ที่ https://zakat.unhcr.org/thai/th/who-we-are
ช่องทางการบริจาคเงินซะกาตผ่าน UNHCR
บริจาคออนไลน์
การบริจาคซะกาตออนไลน์ สำหรับท่านที่ต้องการร่วมการบริจาคซะกาตเพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาทุกข์ให้พี่น้องผู้ลี้ภัยที่ในพื้นที่สงคราม หรือช่วงเวลาที่ขาดแคลนสามารถร่วมบริจาคง่าย ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของ UNHCR
บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
สำหรับการบริจาคผ่านบัญชีธนาคารนั้นสามารถโอนเงินบริจาคซะกาตผ่านทางบัญชี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ชื่อบัญชี UNHCR Special Account เลขบัญชี 008-1-36212-9 และเมื่อทำรายการเสร็จให้ส่งหลักฐานข้อมูลผู้บริจาคช่องทางติดต่อกลับและจำนวนเงินที่บริจาคผ่านทาง LINE ID : @UNHCRDonation หรือ Email : [email protected] เพื่อบันทึกการบริจาคและรับหนังสือขอบคุณ
สรุปเกี่ยวกับซะกาต การ “ให้” ที่ยิ่งใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยาก
จากข้อมูลของสำนักจุฬา ราชมนตรี การบริจาคซะกาตนั้นเป็นหนึ่งใน 5 หลักปฏิบัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม และเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิม ที่จะช่วยเหลือและส่งต่อไปยังผู้ยากไร้ ผู้ที่กำลังขัดสน ตกที่นั่งลำบาก ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งการได้เป็นผู้ให้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสุขให้กับทั้งผู้ที่ได้รับและตัวผู้ให้เองด้วย นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งดี ๆ ที่พี่น้องชาวมุสลิมจะได้ระลึกถึงผู้ที่เผชิญกับความทุกข์ยาก และเพื่อให้เข้าใจพวกเขา
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักจุฬาราชมนตรี
คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมจึงควรมอบซะกาตให้ UNHCR ?
วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีกลุ่มคนที่มีคุณสมบัติตรงตามผู้มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือด้วยซะกาต และ UNHCR เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง พร้อมได้รับมอบหมายให้รับบริจาคซะกาตเพื่อนำไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ลี้ภัยที่เปราะบางและต้องการความช่วยเหลือด้านปัจจัยขั้นพื้นฐานมากที่สุด โครงการการรับบริจาคซะกาตของ UNHCR สอดคล้องตามหลักกฎหมายชาริอะฮ์ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการศาสนา (นักฟัตวา) และสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านศาสนาหลายแห่ง รวมถึงสำนักจุฬาราชมนตรีที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
2. อะไรคือจุดประสงค์หลักของโครงการการรับบริจาคซะกาตของ UNHCR
เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนสำหรับช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยมุ่งเน้นไปที่ครอบครัวผู้ลี้ภัย ได้แก่ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวและลูกๆ เด็กกำพร้าที่พลัดพรากจากครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่เปราะบาง ผ่านช่องทางการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้เพื่อให้การมอบซะกาตของคุณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยสามารถมั่นใจได้ว่าเงินบริจาคทั้งหมด 100% จะถูกมอบให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด
3. UNHCR มีการจัดทำรายงานและการมอบซะกาตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่?
เรามีการจัดทำรายงานการทำงานและรายงานการมอบซะกาตทุกไตรมาส ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์และส่งจะถูกจัดส่งให้ผู้บริจาคซะกาตทุกท่าน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://zakat.unhcr.org/en/posts-reports
4. ถ้าต้องการบริจาคเพิ่มเติมนอกเหนือการบริจาคซะกาต ทำอย่างไรได้บ้าง?
สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้พลัดถิ่น และผู้ลี้ภัย สามารถร่วมบริจาคในรูปแบบซอดาเกาะห์อย่างต่อเนื่องได้ที่ UNHCR ทุกช่องทาง รวมถึงทางเว็บไซต์ www.unhcr.org/th เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ที่ต้องการจากวิกฤตผู้ลี้ภัยทั่วโลก ร่วมบริจาคกับ UNHCR
ร่วมเป็นผู้ ‘ให้’ ผ่านการบริจาคกับ UNHCR ในวิกฤตที่กำลังต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด
สำหรับผู้คนที่กำลังเผชิญกับความยากลำบาก การบริจาคและความเมตตาจากคุณคือความหวังของผู้ลี้ภัยในการเข้าถึงที่พักพิง และปัจจัยสี่ที่จำเป็น
รอมฎอน เดือนอันประเสริฐและ ช่วงเวลาแห่งการให้ของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก
รอมฎอน เดือนอันประเสริฐและเดือนแห่งการถือศีลอดที่มีความสำคัญสำหรับชาวมุสลิมผู้ศรัทธา เพื่อระลึกถึงความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ทั่วโลก
ร่วมบริจาคเงินในสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เราต้องวางแผนและทำงานอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะเกิดขึ้นที่ใด UNHCR อยู่ในพื้นที่เพื่อมอบความช่วยเหลือทันที
ร่วมบริจาคเงิน เพื่อช่วยชีวิตผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ฉุกเฉิน