รอมฎอน เดือนอันประเสริฐและ ช่วงเวลาแห่งการให้ของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก

จากข้อมูลของสำนักจุฬาราชมนตรี

رمَضَان كري รอมฎอนการีม หรือเดือนรอมฎอน เดือนสำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมตามปฏิทินของอิสลาม ในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเชื่อตามหลักบัญญัติทางศาสนาว่าด้วย พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้เดือนดังกล่าวเป็นเดือนแห่งการประกอบอิบาดะห์ และได้ทรงกำหนดให้ชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องทำการ “ถือศีลอด” เพื่อเป็นการควบคุมตัวเองในการรับประทานอาหารให้อยู่ในความพอดี ให้ร่างกายได้รู้จักและลิ้มรสความหิวโหย และเพื่อให้ได้ทำความเข้าใจสภาพของคนยากจนและคนยากไร้ที่ไม่มีอะไรจะกิน

โดยตลอดระยะเวลา 1 เดือนของการถือศีลอดนั้น ก็เพื่อทำให้ชาวมุสลิมมีจิดใจที่เมตตา เข้าอกเข้าใจผู้อื่น และยังเป็นช่วงเวลาสะสมความดีด้วยการละหมาดตะรอเวียห์ ทำการซิกรุลลอฮ์ อ่านอัลกุรอาน และทำจิตใจให้ใสสะอาด มุ่งสู่อัลลอฮ์

ที่มาจาก : สำนักจุฬาราชมนตรี

 

ความสำคัญของเดือนรอมฎอนคืออะไร มีความเชื่ออย่างไร

จากข้อมูลของสำนักจุฬาราชมนตรี ประจำกรุงเทพมหานครกล่าวว่า ความประเสริฐของเดือนรอมฏอน คือเดือนที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกุรอานมาให้แก่ศาสดานบีมุฮัมมัด จึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับชาวมุสลิม นอกจากนี้การถือศีลอดในเดือนรอมฏอน ยังถือว่าเป็นการฝึกความเพียร ความอดทนต่อความยากลำบาก เพื่อเข้าถึงคำสอนของนบีมุฮัมมัด และบูชาแก่พระผู้เป็นเจ้า รวมถึงเป็นการตระหนักรู้ถึงความลำบากในผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า ชาวมุสลิมจึงมักจะทำการบริจาคซะกาตในเดือนรอมฎอนอีกด้วย

สำหรับวันเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนในปี 2567 นี้ เนื่องจากตามปฏิทินฮิจเราะห์ศักราชเดิมจะตรงกับวันที่ 10 พ.ศ. 2567 แต่ในวันดังกล่าวหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปรากฎว่ามองไม่เห็นดวงจันทร์ ทำให้สำนักจุฬาราชมนตรีได้ประกาศเพื่อกำหนดให้วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 คือวันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักจุฬาราชมนตรี

ใครที่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และใครที่ได้รับการยกเว้น

ผู้ที่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน คือชาวมุสลิมผู้ศรัทธาที่บรรลุนิติภาวะและศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความสามารถ ไม่อยู่ในภาวะของผู้เดินทาง และเป็นผู้ที่ปราศจากข้อห้ามของการถือศีลอด

สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นถือศีลอดในเดือนรอมฎอน คือชาวมุสลิมที่เป็นผู้ป่วยรุนแรง ป่วยเรื้อรัง หญิงที่มีรอบเดือน เป็นคนชรา และหญิงตั้งครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก: มุสลิมไทยโพสต์

รอมฎอน เดือนแห่งการให้ ร่วมบริจาคแก่ผู้พลัดถิ่นกับ UNHCR 

ในเดือนอันประเสริฐและการระลึกถึงความยากลำบากของเพื่อนมนุษย์ที่ทุกข์ยาก ร่วมเป็น “ผู้ให้” ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมผู้ยากไร้จากภัยสงคราม และภัยธรรมชาติในเดือนรอมฎอน UNHCR ขอเชิญชวนคุณบริจาคซะกาตเพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้ประสบภัยชาวมุสลิม 

การบริจาครอมฎอนภายใต้โครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้องและทานประจำปีซะกาต” เพื่อมอบการช่วยเหลือ และโอกาสให้แก่ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นที่กำลังถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ และกำลังถือศีลอดไกลจากบ้านท่ามกลางสถานการณ์สงครามที่ยืดเยื้อ UNHCR มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และให้ความคุ้มครองแก่พี่น้องผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นทั่วโลก โดย UNHCR เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง (ฟัตวา) จากนักวิชาการ และองค์กรชั้นนำทางศาสนาให้สามารถรับทานซะกาตเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิมที่มีคุณสมบัติตรงตามบทบัญญัติ 

*ทานซะกาตทั้งหมดจะถูกมอบให้ผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยครบถ้วน 100% เพื่อให้พวกเขาได้รับอาหาร และน้ำหลังละศีลอด ได้รับที่พักพิงที่ปลอดภัย รวมถึงการช่วยเหลืออื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

ช่องทางการบริจาคเงินรอมฎอนผ่าน UNHCR 

Donate Online 

มอบซะกาตในเดือนรอมฎอน สามารถบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ทางการของ UNHCR  ที่ปลอดภัยและท่านสามารถมั่นใจได้ สำหรับการบริจาคซอดาเกาะห์สามารถเลือกการบริจาคแบบรายเดือน (Monthly) เพื่อมอบความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่พี่น้องผู้ลี้ภัยอย่างต่อเนื่องบน เว็บไซต์ UNHCR

บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร

การมอบซะกาตในเดือนรอมฎอน รวมถึงการบริจาคซอดาเกาะห์ผ่านบัญชีธนาคารโดยตรง สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เลขที่บัญชี 008-1-36212-9 ชื่อบัญชี UNHCR Special Account เมื่อทำรายการเสร็จแล้ว ท่านจะได้รับหนังสือขอบพระคุณสำหรับการบริจาค โดยส่งสลิปโอนเงินมาที่ LINE ID : @UNHCRDonation เพื่อบันทึกการบริจาค

รอมฎอน บริจาคซะกาตเพื่อมอบที่พักพิง อาหาร และน้ำสะอาดให้กับพี่น้องชาวมุสลิมผู้ลี้ภัยจากสงคราม

รอมฎอน เดือนแห่งการปฏิบัติตนตามหลักบัญญัติศาสนา เพื่อเข้าถึงคำสอนรวมถึงมุ่งหวังการทำความดี ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากในช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 

ภายใต้โครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้องและทานประจำปีซะกาต”ของ UNHCR ศูนย์กลางการบริจาคซะกาตสำหรับช่วยเหลือพี่น้องชาวมุสลิมผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นจากสงคราม มอบความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยสงคราม รวมถึงพิบัติทางธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้พวกเขาได้รับอาหาร น้ำสะอาดให้ครอบครัว ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด

 

คำถามที่พบบ่อย

1. รอมฎอนปี 2567 อยู่ในช่วงเดือนไหน?

ข้อมูลจากสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่าการเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนนั้นจะต้องดูจากวันแรกที่เห็นจันทร์เสี้ยวของเดือน 9 ตามปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช หรือเดือนมีนาคม โดยในปี 2567 วันเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนคือวันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

2. ร่วมบริจาคซะกาตกับ UNHCR ความช่วยเหลือจะถูกส่งต่อไปที่ใดบ้าง?

ในปี 2023 UNHCR ได้มีการกระจายซะกาตที่ได้รับการบริจาคไปยังผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นที่ทุกข์ยากบ้านกว่า 18 ประเทศทั่วโลก ทั้งในภูมิภาค Asia, MENA และ Africa รวมถึงจากสำนักจุฬาราชมนตรีในประเทศไทย สามารถดูข้อมูลข่าวสารการมอบซะกาตให้กับผู้ลี้ภัยเพิ่มเติมได้ที่ Refugee Zakat Fund Reports

3. นโยบายการบริจาคซะกาตกับ UNHCR เป็นรูปแบบใด?

การบริจาคซะกาตกับ UNHCR เรามีนโยบายมอบซะกาต 100% (ได้รับการรับรองหรือฟัตวา)  ให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นตามคุณสมบัติ มอบปัจจัยสี่และความช่วยเหลือที่จำเป็นครอบคลุมรอบด้านไม่ว่าจะเป็นที่พักพิง อาหาร น้ำสะอาด และยารักษาโรครวมไปถึงการศึกษาให้เด็ก ๆ ผู้ลี้ภัย ทั้งหมดนี้ครอบคลุมความช่วยเหลือตามความต้องการพื้นฐานที่จะทำให้ชีวิตของพี่น้องชาวมุสลิมได้มีความสุขในเดือนประเสริฐนี้

4. จุดประสงค์การบริจาคของ UNHCR

ข้อมูลจากสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่าการเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนนั้นจะต้องดูจากวันแรกที่เห็นจันทร์เสี้ยวของเดือน 9 ตามปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช หรือเดือนมีนาคม โดยในปี 2567 วันเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนคือวันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

  • พี่น้องผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นที่ทุกข์ยากกำลังถือศีลอดไกลจากบ้าน ท่ามกลางสถานการณ์สงครามและความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ UNHCR ระดมทุนเพื่อมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ครอบคลุมรอบด้าน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่เปราะบางซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

  • ซะกาตและซอดาเกาะห์จากท่าน 100% จากความเมตตาจากท่านช่วยชีวิตพี่น้องผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นตรงคุณสมบัติตามบทบัญญัติทางศาสนา

  • UNHCR ได้รับการรับรอง(ฟัตวา) ในการรับและมอบซะกาตไปยังพี่น้องผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นตามเงื่อนไขการมอบซะกาต 100% โดยท่านสามารถติดตามการช่วยเหลือและดูรายงานกองทุนซะกาตได้ที่ https://zakat.unhcr.org/en/posts-reports
บริจาคช่วยผู้ลี้ภัยสงคราม

ร่วมเป็นผู้ ‘ให้’ ผ่านการบริจาคกับ UNHCR ในวิกฤตที่กำลังต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด

สำหรับผู้คนที่กำลังเผชิญกับความยากลำบาก การบริจาคและความเมตตาจากคุณคือความหวังของผู้ลี้ภัยในการเข้าถึงที่พักพิง และปัจจัยสี่ที่จำเป็น

ซะกาตคืออะไร

การจ่ายซะกาตในเดือนรอมฎอน คืออะไร ทำไมจึงต้องบริจาคซะกาตผ่าน UNHCR

ข้อมูลจากสำนักจุฬาราชมนตรีระบุว่า ซะกาต หลักปฏิบัติทางศาสนาที่สำคัญของชาวมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นการบริจาคเพื่อแสดงความเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ และถูกบัญญัติให้เป็นวินัยทางศาสนาอิสลามที่กำหนด

 

บริจาคเงิน ลดหย่อนภาษี

ร่วมบริจาคเงินในสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เราต้องวางแผนและทำงานอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะเกิดขึ้นที่ใด UNHCR อยู่ในพื้นที่เพื่อมอบความช่วยเหลือทันที
ร่วมบริจาคเงิน เพื่อช่วยชีวิตผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ฉุกเฉิน