โรคติดต่อ คืออะไร?
โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถติดต่อได้ระหว่างคนสู่คน หรือจากสัตว์สู่คนได้ โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เองก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคเช่นกัน ยิ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง หรือในพื้นที่ห่างไกลที่เข้าถึงสุขอนามัยที่ถูกสุขลักษณะได้ยาก ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดการกระจายของเชื้อไวรัส ทำให้โรคติดต่อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและรวดเร็ว โอกาสที่เชื้อจะเจริญเติบโตและสร้างผลกระทบกับร่างกายขั้นรุนแรงก็มีมากขึ้นด้วย
โรคติดต่ออันตรายมีอะไรบ้าง?
เพื่อให้ทราบถึงอันตรายมากขึ้นว่าโรคติดต่อส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ต่อไปนี้คือ 5 โรคที่ติดต่อรุนแรงระหว่างคนสู่คนที่ควรรู้จักและเฝ้าระวังไว้
Mpox หรือ โรคฝีดาษวานร
โรคติดต่อที่เคยพบการระบาดครั้งแรกในปี 1970 Mpox หรือ โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่มีการระบาดมากในประเทศแถบแอฟริกา ติดต่อได้ทั้งจากสัตว์สู่คนและคนสู่คน ปัจจุบันโรคฝีดาษวานรได้กลับมาเกิดการระบาดอีกครั้งในหลายประเทศ เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะพบตุ่มหนองทั่วตัวร่วมกับมีไข้สูง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ตาบอด สมองอักเสบ และปอดอักเสบได้
ในปี 2022 โรคฝีดาษวานรกลับมาระบาดอีกครั้งมีรายงานการพบผู้ป่วยและการแพร่ระบาดจำนวนมากในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศใกล้เคียง WHO รายงานว่าปี 2022-2024 มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วกว่า 100,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 220 ราย โดยได้รับการประกาศให้เป็น“ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในพื้นที่ตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด ต้องใช้ชีวิตในที่พักพิงที่แออัดร่วมกับคนจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการสัมผัสและรับเชื้อ
เพื่อลดการระบาดของโรคฝีดาษวานรในค่ายผู้ลี้ภัย UNHCR ทำงานร่วมกับ WHO และพันธมิตร ป้องกันการแพร่ระบาด สนับสนุนจุดล้างมือสาธารณะในค่ายผู้ลี้ภัย ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ พร้อมทั้งสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีในพื้นที่อาศัยของผู้ลี้ภัย ตลอดจนการจัดกิจกรรมให้ข้อมูลและความรู้เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลของโรคติดต่อได้มากที่สุด
(อ้างอิงจาก : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mpox#:~:text=The%20monkeypox%20virus%20was%20discovered,of%20the%20Congo%20(1970).)
โรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อจากยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อพลาสโมเดียมเป็นพาหะนำโรค เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะไปฟักตัวที่ตับ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการรุนแรงขึ้น เพราะเชื้อจะขึ้นสมองอาจทำให้ชัก, ไตวาย, น้ำท่วมปอด และมีโอกาสเสียชีวิตสูง ส่วนใหญ่แล้วจะระบาดในพื้นที่ป่าเขา พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และในประเทศร้อนชื้น
ในปี 2022 องค์การอนามัยโลกรายงานว่า มีผู้ป่วยโรคมาเลเรียทั่วโลกถึง 249 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตราว 608,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเด็ก และผู้หญิงส่วนใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และเด็กเล็กผู้ลี้ภัยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยด้วยโรคมาเลเรียรุนแรงและเสียชีวิต เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำ UNHCR ตระหนักถึงภัยร้ายที่คร่าชีวิตผู้คน ทำงานร่วมกับพันธมิตรด้วยการมอบความคุ้มครองเพื่อป้องกันและมอบการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วย เช่น มอบมุ้งกันยุง สนับสนุนด้านสุขาภิบาลห้องน้ำที่สะอาด มอบน้ำดื่มสะอาด เพื่อสุขอนามัยที่ดี สนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การวินิจฉัยโรค ตลอดจนการวางแผนและติดตามผลในพื้นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยทางสงครามอยู่เสมอ
(อ้างอิงจาก : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malaria#:~:text=Malaria%20is%20a%20life%2Dthreatening,spread%20from%20person%20to%20person และ https://www.unhcr.org/media/guidance-note-malaria-programmes-refugee-operations)
กาฬโรค
กาฬโรค คือ โรคติดต่อที่มีความรุนแรง หากเชื้อเข้าสู่ปอดอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที มีต้นเหตุการแพร่ระบาดมาจากสัตว์สู่คน โดยแบคทีเรียที่เป็นพาหะนำโรคมีชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส ซึ่งพบมากในสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก ผู้ป่วยที่ได้รับโรคติดต่อชนิดนี้จะมีอาการหนาวสั่น, มีไข้สูง, อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองบวม หากเชื้อเข้าสู่ปอดอาจมีอาการหายใจติดขัดและหายใจล้มเหลว กรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดผู้ป่วยอาจมีเลือดออกตามผิวหนังและมีเนื้อเยื่อตายบางส่วน
การระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคคือ ช่วงปี ค.ศ. 1346-1353 ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน และปัจจุบันยังคงมีการระบาดของกาฬโรคอยู่ เช่น ในเขตปกครองตนเองของมองโกเลีย และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว UNHCR สนับสนุนการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงและลดการระบาดของโรค
(อ้างอิงจาก : https://www.bbc.com/thai/resources/idt-ba384a5b-aae4-4b86-8e36-50fda3ca0b9e)
COVID-19
COVID-19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในปี 2019 โดยติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอ จาม หรือพูดคุย นับตั้งแต่การระบาดจนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อตามรายงานของ WHO อยู่ที่ 774 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 7 ล้านคน โดย UNHCR ทำงานในพื้นที่ มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ให้ความรู้และมอบอุปกรณ์การป้องกันโรค ให้การรักษาพยาบาล มอบน้ำสะอาด การบริการด้านสุขอนามัยเพื่อปกป้องผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในภาวะสงครามให้ปลอดภัย
(อ้างอิงจาก : https://www.who.int/thailand/news/detail/07-02-2024-update-on-covid-19-in-thailand–7-february-2024-THA และ https://www.unhcr.org/th/coronavirus-outbreak )
อหิวาตกโรค
อหิวาตกโรคเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีการระบาดรุนแรงมากถึง 6 ครั้ง ในศตวรรษที่ 19 และมีผู้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรคหลายล้านคนทุกทวีปทั่วโลก ปัจจุบันยังคงพบการระบาดในอีกหลายประเทศ โดยปี 2023 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรค 535,321 ราย และเสียชีวิต 4,007 ราย
UNHCR มอบความช่วยเหลือด้าน WASH ที่ช่วยให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นเข้าถึงน้ำสะอาด สุขาภิบาล ด้วยการจัดตั้งแหล่งบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ สร้างจุดจ่ายน้ำรวมถึงอุปกรณ์เก็บน้ำสะอาดให้แต่ละครอบครัวเพื่อบริโภค สร้างห้องน้ำเพื่อสุขอนามัย พร้อมทั้งให้ความรู้เพื่อลดการระบาดของโรคติดต่อ โดยปัจจุบันโครงการนี้กำลังดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการระบาดของโรค เช่น ไนโรบี และซูดาน ซึ่งยังเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคท้องร่วง และอหิวาตกโรคในพื้นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย
(อ้างอิงจาก : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cholera)
ไข้เหลือง
ไข้เหลือง คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสฟลาวิไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ พบบ่อยในพื้นที่เขตร้อนแถบอเมริกาใต้และแอฟริกา ในช่วงปี 1730 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้เหลืองที่ยุโรปในหลายประเทศ ส่วนใหญ่แล้วมาจากการค้าทาสในสมัยนั้น และในปี 2013 WHO ได้ประมาณการว่ามีผู้เจ็บป่วยจากไข้เหลืองทั่วโลกมากถึง 170,000 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 60,000 ราย ปัจจุบัน ยังมีการแพร่ระบาดของไข้เหลืองในพื้นที่สงคราม รวมถึงในพื้นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยจากความขัดแย้งที่เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยาก
UNHCR ทำงานร่วมกับพันธมิตร ให้ความรู้ และมาตรการเพื่อปกป้องผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากการติดเชื้อ มอบวัคซีนป้องกันโรค ปรับปรุงระบบสุขาภิบาล ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมพาหะนำโรค เช่น ยุงลาย จึงช่วยลดการระบาดของไข้เหลืองและโรคติดต่ออื่น ๆ ที่มียุงเป็นพาหะ
(อ้างอิงจาก : https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2016/08/28/491471697/yellow-fever-timeline-the-history-of-a-long-misunderstood-disease)
HIV
โรค HIV เป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของโรค แม้ว่าการเริ่มต้นระบาดครั้งแรกจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงมีผู้ติดเชื้อในหลายประเทศ โดยข้อมูลสถิติจาก WHO พบว่าปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจาก HIV ทั่วโลกอยู่ที่ 42.3 ล้านคน และยังคงมีการแพร่กระจายและพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกปี
UNHCR ได้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงการที่ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค HIV ได้ตระหนักความรุนแรงของโรค การดูแลและรักษาด้านสาธารณสุข ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมการระบาดและเพิ่มความเข้าใจในการป้องกันโรค HIV รวมถึงเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วและต่อเนื่อง
อีโบลา
อีโบลาเป็นโรคติดต่อที่ระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 เกิดขึ้นในประเทศซูดาน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (หรือประเทศซาอีร์ในอดีต) ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ หากมีการลุกลามของโรคที่รุนแรงจะมีเลือดออกตามร่างกายจนเสียชีวิต และการระบาดครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50% โรคนี้ระบาดได้จากคนสู่คน โดยผู้ลี้ภัย กลุ่มเปราะบาง และผู้พลัดถิ่นจากสงครามมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากอีโบลา เนื่องจากพักพิงอยู่ในพื้นที่แออัด และยังขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการรักษาตัว หรือกักกันโรค
การทำงานของ UNHCR ได้ตระหนักถึงปัญหาการไร้ที่อยู่ พื้นที่แออัด และระบบสาธารณสุขที่ไม่มีคุณภาพ ด้วยการเป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชนและโรงพยาบาล เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ในการดูแลและรักษาสุขอนามัยเพื่อลดการระบาดของโรคติดต่อ และการสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอต่อครอบครัวผู้พลัดถิ่น
(อ้างอิงการทำงานจาก : https://www.unhcr.org/what-we-do/protect-human-rights/public-health/access-healthcare)
(อ้างอิงจาก : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ebola-virus-disease)
โรคติดต่อยังคงระบาดในหลายพื้นที่ ร่วมสนับสนุนกับ UNHCR เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดี
โรคติดต่อยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณะสุขของโลก แม้วิวัฒนาการทางการแพทย์จะรุดหน้า แต่ในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่สงครามยังเกิดการระบาดของโรคติดต่อหรือโรคระบาดร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ ขาดแคลนทรัพยากรทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่ดี UNHCR มีโครงการมอบความช่วยเหลือที่ช่วยให้กลุ่มผู้ลี้ภัยสงครามและผู้พลัดถิ่นได้เข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์และมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคท้องร่วง COVID-19 ไข้เหลือง HIV และ Mpox โดย
- สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค มอบวัคซีนป้องกันโรค ให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นสามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ ได้รับการรักษาและยารักษาโรค
- ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อให้ความรู้ มอบอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคระบาด
- จัดตั้งโครงการ WASH เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นเข้าถึงน้ำสะอาด สุขาภิบาล และสุขอนามัยพร้อมทั้งระบบขนส่ง จัดเก็บ และบำบัดน้ำในพื้นที่ที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านประปา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด
- สนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยสามารถเข้าถึงสบู่ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อสุขอนามัยที่ดี
โดยท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการทำงานของ UNHCR ได้ด้วยการบริจาคเงินให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับยารักษา ได้เข้าถึงน้ำสะอาดและอาหารที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดรุนแรงและโรคติดต่อที่ยังคงเกิดขึ้นในอีกหลายพื้นที่
บริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยจากโรคติดต่อ กับ UNHCR
ร่วมช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากสงครามให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และเพื่อให้พวกเขาได้รับความรู้และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ คุณสามารถร่วมบริจาคกับ UNHCR สนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว ได้ยารักษาโรคอย่างเหมาะสม รวมถึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณสุขคที่ดี และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดอุบัติใหม่ เช่น โรคอีโบลา โรคฝีดาษวานร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ขั้นตอนการบริจาคช่วยเหลือครอบครัวผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
คุณสามารถร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้พลัดถิ่น ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อ ที่ยิ่งตอกย้ำสถานการณ์ของความยากลำบากในภาวะสงคราม ร่วมกับ UNHCR แบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของเราได้ผ่าน 4 ขั้นตอนต่อไปนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ www.unhcr.org/th จากนั้นกดหน้าบริจาค โดยเลือกจากแคมเปญที่ท่านต้องการช่วยเหลือ
- เลือกประเภทของการบริจาค และระบุจำนวนเงินที่ต้องการบริจาคกับเรา
- กรอกข้อมูลของคุณสำหรับการทำรายงานด้านความเปลี่ยนแปลงและความคืบหน้าจาก UNHCR
- กดยืนยันการบริจาค ผ่านช่องทางการชำระเงินที่เลือก
ช่องทางการบริจาคเงินสนับสนุนผ่าน UNHCR
บริจาคออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์
การบริจาคออนไลน์สามารถทำได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.unhcr.org/th เลือกบริจาคได้จากแคมเปญที่ต้องการซึ่งท่านสามารถเลือกบริจาคได้ทั้งแบบครั้งเดียว และแบบรายเดือน รวมถึงการบริจาคด้วยวิธีตัดบัตรเครดิตเพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการของ UNHCR อย่างต่อเนื่อง
บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
เลือกบริจาคผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี UNHCR Special Account โดยเลือกบริจาคได้หลายบัญชีธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เลขที่บัญชี : 004-2-25859-6
- ธนาคารกสิกรไทย (KBank) เลขที่บัญชี : 030-2-88804-3
- ธนาคารกรุงไทย (KTB) เลขที่บัญชี : 167-0-19574-0
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (iBank) เลขที่บัญชี : 008-1-36212-9
- ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เลขที่บัญชี : 004-2-25859-6
*ทำรายการเสร็จแล้ว ส่งสลิปโอนเงินมาที่ LINE @unhcrdonation เพื่อยืนยันการบริจาค
ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคเพิ่มเติมได้ที่ LINE: @UNHCRThailand หรือทางอีเมล [email protected]
ผู้บริจาคสามารถเลือกใช้บัญชีธนาคารที่สะดวกที่สุดในการโอนเงินบริจาคให้กับ UNHCR เพื่อสนับสนุนภารกิจในการให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้ลี้ภัยหรือผู้พลัดถิ่นที่ติดโรคระบาด ให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล น้ำสะอาด สุขาภิบาล และสุขอนามัยที่ถูกสุขลักษณะตามความประสงค์
บริจาคผ่านเจ้าหน้าที่ระดมทุนตามสถานที่ต่าง ๆ
การระดุมทุนตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นรูปแบบการบริจาคที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการของ UNHCR เดินทางไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและผู้ลี้ภัยต่อบุคคลแบบตัวต่อตัว คุณสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้ลี้ภัยต้องเผชิญได้จากเจ้าหน้าที่ของเรา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยมอบชีวิตและความหวังให้กับผู้ลี้ภัยในโครงการผ่านทางเจ้าหน้าที่ของเรา โดยสามารถเลือกวิธีบริจาคได้ตามความเหมาะสมรวมถึงการบริจาคผ่านบัตรเครดิตเพื่อสนับสนุนการทำงานของ UNHCR
ประเภทการบริจาคแบบครั้งเดียว และแบบรายเดือน
ท่านสามารถเลือกการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสถานการณ์โรคระบาดได้ 2 ประเภทดังนี้
บริจาครายเดือน
เลือกการบริจาคแบบรายเดือน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ด้วยการสนับสนุนด้านความคุ้มครอง การรักษาพยาบาล และความช่วยเหลือที่จำเป็นทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นได้รับประโยชน์ สร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและยังเป็นการให้ความช่วยเหลืออย่างยั่งยืน
บริจาคแบบรายครั้ง
การบริจาคแบบรายครั้ง ช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นที่ตกอยู่ในความเสี่ยง
การแพร่ระบาดของโรคติดต่อบรรเทาได้ด้วยความช่วยเหลือของทุกคน
การแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขใหญ่ที่พรากชีวิตผู้คนจำนวนมากในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ที่เปราะบาง และตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด ต้องพักพิงอยู่ในพื้นที่จำกัดและแออัด เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากลำบาก UNHCR ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และทำงานร่วมกับพันธมิตร มอบความช่วยเหลือที่จำเป็นในทุก ๆ ด้าน เช่น สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ มอบวัคซีนป้องกันโรค มอบสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณสุขและสุขอนามัย เพื่อลดการติดต่อและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค