มติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือน

UNHCR ตอบรับมติจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  จากกรณีของ Teitiota ที่เกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์

ขณะที่การขอความคุ้มครองโดยนาย Teitiota ถูกปฏิเสธโดยพื้นฐานที่ว่าชีวิตของเขาไม่ได้ตกอยู่ในความเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการฯ มีมติว่าผู้ที่หนีด้วยสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่สมควรถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทางหากมีความเสี่ยงที่สิทธิขั้นพื้นฐานอาจถูกริดรอนเมื่อกลับไป

นับเป็นมติสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกี่ยวพันถึงการมอบความคุ้มครองระหว่างประเทศต่อผู้พลัดถิ่นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาหาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ มตินี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติการของประเทศต่างๆ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจบังคับให้ผู้คนต้องหนีและส่งผลให้เกิดพันธกรณีระหว่างประเทศในอนาคต

รายละเอียดเพิ่มเติมจากการประเมินของ UNHCR ในมติดังกล่าว:

UNHCR มีการเน้นย้ำว่าผู้ที่หนีเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและค่อยๆ เกิดขึ้น ควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ปี พ.ศ. 2494 หรือ กรอบการกติกาเรื่องผู้ลี้ภัยในระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงแต่สถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดและเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและความรุนแรง มติคณะกรรมาธิการฯ สนับสนุนการตีความนี้ในแนวปฏิบัติปัจจุบันในการมอบความคุ้มครอง มติยังรับรองว่ากฎหมายความคุ้มครองระหว่างประเทศแก่ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ได้ในกรณีการพลัดถิ่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่หลากหลายต่อหลายประเทศ ชุมชน ความเป็นอยู่ส่วนบุคคลรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงและใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลต่ออนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ปี พ.ศ. 2494 กรอบการกติกาเรื่องผู้ลี้ภัยในระดับภูมิภาค เช่น อนุสัญญา OAU และพิธีสารการ์ตาเกนา

มติดังกล่าวยังครอบคลุมและเฉพาะเจาะจงถึงสิทธิมนุษยชนที่อาจถูกริดรอนซึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติรวมเป็นถึงสิทธิในการมีชีวิต ในมติยังมีการระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลันหรือเหตุการณ์ที่ก่อตัวอย่างช้าๆ สามารถทำให้เกิดการอพยพข้ามชายแดนเพื่อแสวงหาความคุ้มครองและเอาชีวิตรอดจากความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

UNHCR ยังได้เน้นย้ำถึงคำวินิจฉัยจากมติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าในพื้นที่ที่อาจเกิดความเสี่ยงดังกล่าว การส่งตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบกลับไปยังพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภัยนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (มาตรา 6) หรือไปยังพื้นที่ที่พวกเขาเสี่ยงจากการเผชิญกับความโหดร้าย ทารุณ การย่ำยีศักดิ์ศรี (มาตรา 7 ของ ICCPR) มีความผิดภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR กติกาดังกล่าวยังครอบคลุมถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่สามารถประยุกต์ใช้กับการพิจารณาผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัย ซึ่งยังรวมไปถึงสิทธิ์อื่นๆ ในการมีชีวิต (มาตรา 6) และสิทธิ์นั้นไม่อยู่ภายใต้การทรมาน หรือการทารุณอย่างโหดร้าย หรือการลงโทษ หรือการย่ำยีศักดิ์ศรี (มาตรา 7)

มติคณะกรรมาธิการฯ ยังกล่างถึงความต้องการความพยายามอย่างจริงจังในระดับชาติและนานาชาติเพื่อหลีกเลี่ยงการริดรอนสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังกล่าวเตือนว่ามีความเสี่ยงสูงที่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ทั้งประเทศจมอยู่ใต้น้ำก่อนที่จะสายเกินไป  สภาพความเป็นอยู่ในประเทศนั้นอาจขัดแย้งกับสิทธิ์ในการมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี การอ้างอิงเหล่านี้ยังเป็นการส่งสัญญาณครั้งสำคัญไปถึงประเทศต่างๆ และประชาคมโลก พวกเขายังเน้นย้ำถึงการสนับสนุนในการป้องกัน ลดความเสี่ยงและการปรับตัวอย่างเร่งด่วนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อขยายความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ ความร่วมมือกันนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลรู้สึกว่าต้องถูกบังคับให้พลัดถิ่นเพื่อเลี่ยงภัยที่ใกล้ตัว ตามที่คณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นว่าจะพันธกรณีระหว่างประเทศในการให้ความคุ้มครอง

 

#ClimateChange #ClimateAction #UNHCR #Refugees #Displaced #ผู้ลี้ภัย #ผู้พลัดถิ่น #ภัยธรรมชาติ

 

ติดตามการทำงานFacebook | LINE | Instagram | Twitter | TikTok