UNHCR ชื่นชมคำมั่นของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีที่จะขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
UNHCR แสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลและประชาชนของประเทศเซาตูเมและปรินซิปี (São Tomé and Principe) ที่แสดงความมุ่งมั่นที่จะขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติโดยการภาคยานุวัติเป็นรัฐภาคีของทั้งสองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีได้ให้การรับรองต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยว่าด้วยสถานะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ 1954 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ 1961 ก้าวที่สำคัญนี้ทำให้ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีเป็นรัฐภาคีลำดับที่ 98 และ 80 ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะจัดการสาเหตุของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และยังร่วมกับนานาประเทศในการขจัดปัญหานี้ให้หมดไป
นายอับดูราอูฟ ยนอน คอนเด ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกากลางและตะวันตกของ UNHCR กล่าวว่า “การที่ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งสองฉบับนี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง เพราะสะท้อนให้เห็นถึงความเสียสละที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาตินี้ รวมทั้งการรับรองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ การดำเนินการที่สำคัญเช่นนี้ช่วยหนุนเสริมความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศที่จะแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ”
พัฒนาการที่สำคัญนี้สอดคล้องกับโครงการ #IBelong ของ UNHCR ที่เดินหน้าขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และยังสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น พันธมิตรสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Alliance to End Statelessness) อีกด้วย
บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติต่างเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล การสมรส และโอกาสในการจ้างงาน จากรายงานของ UNHCR พบว่าคนไร้รัฐไร้สัญชาติหรือคนที่ยังไม่ได้รับการกำหนดสัญชาติมีจำนวนกว่า 4.4 ล้านคน ใน 95 ประเทศ โดยมีการคาดการณ์ว่าจำนวนที่มีอยู่จริงทั่วโลกนั้นยังสูงกว่าจำนวนที่มีการรายงานนี้อีก เนื่องจากคนไร้รัฐไร้สัญชาติมักจะไม่ถูกนับรวมเข้าไปในข้อมูลประชากรแห่งชาติ
แม้ว่าจำนวนของคนไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีจะยังไม่ถูกเปิดเผย รวมทั้งการหาสาเหตุและปัญหาอุปสรรคที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติกำลังเผชิญจากการเข้าถึงสิทธิและบริการ แต่การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งสองฉบับนี้จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานี้
นายโอลิเวียร์ กิโยม เบียร์ ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ UNHCR ประจำประเทศเซาตูเมและปรินซิปี กล่าวว่า “การรับรองอนุสัญญาของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในการมีสัญชาติของทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการมีสิทธิของผู้ลี้ภัย คนไร้รัฐไร้สัญชาติและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ที่ได้ประกาศไว้ ณ การประชุมผู้ลี้ภัยโลก เมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา”
UNHCR พร้อมที่จะสนับสนุนประเทศเซาตูเมและปรินซิปีในการเปลี่ยนคำมั่นนี้ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันและแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ สร้างสังคมแห่งการมีส่วนร่วม ที่จะส่งผลต่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
ข้อมูลเพิ่มเติม
นิยามตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศของคำว่า คนไร้รัฐไร้สัญชาติ คือ ผู้ที่ไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นพลเมืองของรัฐใดๆ ตามกฎหมายแห่งรัฐนั้นๆ คนไร้รัฐไร้สัญชาติอาจไม่มีสัญชาติติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรือกลายเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติในภายหลัง ผลกระทบของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาตินั้นกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงการเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล การสมรส และโอกาสในการจ้างงานโครงการ #IBelong ของ UNHCR ดำเนินการเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Action Plan to End Statelessness) ซึ่งเป็นกรอบการทำงาน 10 แผนที่ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากโครงการ #IBelong จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ UNHCR จึงได้จัดตั้ง พันธมิตรสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Alliance to End Statelessness) ขึ้น เพื่อนำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรภายใต้สหประชาชาติ องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมทั้งองค์กรที่นำโดยคนไร้รัฐไร้สัญชาติเอง ได้มาทำงานร่วมกันเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาต
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
พิมพ์ชนก นัยนานนท์ email: [email protected], 084-6829688
Page 13 of 16
-
โซนี่เป็นองค์กรแรกที่ให้ความสนับสนุนแก่ยูเอ็นเอชซีอาร์เพื่อการต่อสู้กับไวรัสโควิด 19
3 เม.ย. 2020 -
มติคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือน
29 ม.ค. 2020UNHCR ตอบรับมติจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จากกรณีของ Teitiota ที่เกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์
-
UNHCR พร้อม ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก และสื่อพันธมิตร เปิดตัวสารคดี และเสวนาพิเศษเพื่อผู้ลี้ภัย และผู้อพยพจากวิกฤติเวเนซุเอลา
23 ม.ค. 2020นับตั้งแต่พ.ศ. 2558 ประชาชนชาวเวเนซุเอลายังต้องเดินทางออกจากประเทศเพื่อหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรงและความขาดแคลนทางสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ
-
บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ ประจำประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอชซีอาร์)
18 ธ.ค. 2019 -
ภาคเอกชนให้คำมั่นเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยกว่า 7.7พันล้านบาท (250 million USD)
16 ธ.ค. 2019 -
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ชื่นชม มติคณะรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบในการจัดตั้งระบบคัดกรอง
16 ธ.ค. 2019สืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มกราคม 2560 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งและปรับใช้ระบบดังกล่าว
-
การจัดประชุมระดับโลกครั้งแรกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ ปาเล เด นาซีออง นครเจนีวา
12 ธ.ค. 2019การประชุมระดับโลกทั้งสองวันนี้เป็นการรวมตัวกันครั้งแรกในระดับรัฐมนตรีเพื่อติดตามการปฏิบัติงานตามข้อตกลงโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees) ตามที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา
-
UNHCR ยินดีในความมุ่งมั่นของไทยในการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นกับเด็ก
10 ต.ค. 2019ความก้าวหน้าของประเทศไทยในการช่วยให้เด็กนักเรียนไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนกว่า 60,000 คน ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของนักเรียน
-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เตือนถึงอุปสรรคในการทำงานเพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
7 ต.ค. 2019ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เตือนถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
-
UNHCR ร่วมกับบริษัท ไลฟ์อีส กรุ๊ป จำกัด จัดงาน LIFEiS BEAUTiFUL – No boundaries for sharing ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือวิกฤตผู้ลี้ภัยโลก
23 ก.ย. 2019