UNHCR ชื่นชมคำมั่นของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีที่จะขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
UNHCR แสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลและประชาชนของประเทศเซาตูเมและปรินซิปี (São Tomé and Principe) ที่แสดงความมุ่งมั่นที่จะขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติโดยการภาคยานุวัติเป็นรัฐภาคีของทั้งสองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีได้ให้การรับรองต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยว่าด้วยสถานะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ 1954 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ 1961 ก้าวที่สำคัญนี้ทำให้ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีเป็นรัฐภาคีลำดับที่ 98 และ 80 ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะจัดการสาเหตุของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และยังร่วมกับนานาประเทศในการขจัดปัญหานี้ให้หมดไป
นายอับดูราอูฟ ยนอน คอนเด ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกากลางและตะวันตกของ UNHCR กล่าวว่า “การที่ประเทศเซาตูเมและปรินซิปีได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งสองฉบับนี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง เพราะสะท้อนให้เห็นถึงความเสียสละที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาตินี้ รวมทั้งการรับรองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ การดำเนินการที่สำคัญเช่นนี้ช่วยหนุนเสริมความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศที่จะแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ”
พัฒนาการที่สำคัญนี้สอดคล้องกับโครงการ #IBelong ของ UNHCR ที่เดินหน้าขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และยังสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น พันธมิตรสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Alliance to End Statelessness) อีกด้วย
บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติต่างเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล การสมรส และโอกาสในการจ้างงาน จากรายงานของ UNHCR พบว่าคนไร้รัฐไร้สัญชาติหรือคนที่ยังไม่ได้รับการกำหนดสัญชาติมีจำนวนกว่า 4.4 ล้านคน ใน 95 ประเทศ โดยมีการคาดการณ์ว่าจำนวนที่มีอยู่จริงทั่วโลกนั้นยังสูงกว่าจำนวนที่มีการรายงานนี้อีก เนื่องจากคนไร้รัฐไร้สัญชาติมักจะไม่ถูกนับรวมเข้าไปในข้อมูลประชากรแห่งชาติ
แม้ว่าจำนวนของคนไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีจะยังไม่ถูกเปิดเผย รวมทั้งการหาสาเหตุและปัญหาอุปสรรคที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติกำลังเผชิญจากการเข้าถึงสิทธิและบริการ แต่การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งสองฉบับนี้จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานี้
นายโอลิเวียร์ กิโยม เบียร์ ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ UNHCR ประจำประเทศเซาตูเมและปรินซิปี กล่าวว่า “การรับรองอนุสัญญาของประเทศเซาตูเมและปรินซิปีเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในการมีสัญชาติของทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับการให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการมีสิทธิของผู้ลี้ภัย คนไร้รัฐไร้สัญชาติและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ที่ได้ประกาศไว้ ณ การประชุมผู้ลี้ภัยโลก เมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา”
UNHCR พร้อมที่จะสนับสนุนประเทศเซาตูเมและปรินซิปีในการเปลี่ยนคำมั่นนี้ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันและแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ สร้างสังคมแห่งการมีส่วนร่วม ที่จะส่งผลต่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
ข้อมูลเพิ่มเติม
นิยามตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศของคำว่า คนไร้รัฐไร้สัญชาติ คือ ผู้ที่ไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นพลเมืองของรัฐใดๆ ตามกฎหมายแห่งรัฐนั้นๆ คนไร้รัฐไร้สัญชาติอาจไม่มีสัญชาติติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรือกลายเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติในภายหลัง ผลกระทบของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาตินั้นกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงการเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล การสมรส และโอกาสในการจ้างงานโครงการ #IBelong ของ UNHCR ดำเนินการเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Action Plan to End Statelessness) ซึ่งเป็นกรอบการทำงาน 10 แผนที่ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากโครงการ #IBelong จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ UNHCR จึงได้จัดตั้ง พันธมิตรสากลเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (Global Alliance to End Statelessness) ขึ้น เพื่อนำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรภายใต้สหประชาชาติ องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมทั้งองค์กรที่นำโดยคนไร้รัฐไร้สัญชาติเอง ได้มาทำงานร่วมกันเพื่อขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาต
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
พิมพ์ชนก นัยนานนท์ email: [email protected], 084-6829688
Page 12 of 16
-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเข้าช่วยเหลือศูนย์ผู้ขอลี้ภัยในโมรีอาหลังเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่
10 ก.ย. 2020 -
รายงานด้านการศึกษาประจำปีของ UNHCR: ไวรัสโคโรนา วิกฤตใหญ่ต่อการศึกษาของผู้ลี้ภัย เมื่อครึ่งหนึ่งของเด็กผู้ลี้ภัยทั่วโลกไม่มีโอกาสเข้าเรียน
3 ก.ย. 2020รายงานด้านการศึกษาประจำปีของ UNHCR เรียกร้องการสนบัสนุนการศึกษาให้กับเยาวชนผู้ลี้ภัยในชุมชนที่เปราะบางมากที่สุดในโลก
-
วิกฤตผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาต้องการทางออกที่ยั่งยืน
24 ส.ค. 2020เป็นเวลา 3 ปีนับจากการอพยพลี้ภัยครั้งล่าสุดของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่หนีภัยจากการสู้รบในประเทศเมียนมาเพื่อแสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัยในประเทศบังคลาเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560
-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติยกระดับการช่วยเหลือฉุกเฉินหลังพบผู้ลี้ภัยเป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดกลางกรุงเบรุต
13 ส.ค. 2020บทความนี้สรุปจากสิ่งที่โฆษกประจำ UNHCR นายบาบาร์ บาลอช ได้แถลงต่อสื่อที่สำนักงานใหญ่ UN ที่เมืองเจนีวา
-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเร่งสนับสนุนการช่วยเหลือในกรุงเบรุตหลังเหตุระเบิดใจกลางเมือง
7 ส.ค. 2020UNHCR และองค์กรพันธมิตรด้านมนุษยธรรมในประเทศเลบานอนเร่งสนับสนุนการรับมือนำโดยรัฐบาลต่อความสูญเสียและเสียหายจากเหตุระเบิดครั้งใหญ่กลางกรุงเบรุต เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563
-
แถลงการณ์จากนายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ UNHCR ต่อเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
5 ส.ค. 2020UNHCR ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
-
รายงานประจำปีของ UNHCR: เมื่อร้อยละ 1 ของประชากรโลกกลายเป็นผู้พลัดถิ่น
30 มิ.ย. 2020สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR […]
-
UNHCR มีความยินดีที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางการระบาดของโรคCOVID-19
1 มิ.ย. 2020UNHCR มีความยินดีที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินสนับสนุนจำนวน $450,000 เพื่อช่วยการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ในประเทศไทย
-
UNHCR ยกระดับการรับมือด้านสาธารณสุขในที่พักพิงผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาหลังพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นครั้งแรก
21 พ.ค. 2020สรุปการแถลงข่าวของนายอังเดร มาเฮกิก โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ณ ที่ทำการสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ กรุงเจนีวา
-
UNHCR สานต่อ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
4 พ.ค. 2020UNHCR สานต่อ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” โดยความร่วมมื […]