รายงานของ UNHCR ระบุว่า เด็กผู้ลี้ภัย 4 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา มากขึ้นเกือบ 500,000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี
รายงาน Turn the Tide: วิกฤติการศึกษาของผู้ลี้ภัยแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าความพยายามของรัฐบาล UNHCR และองค์กรพันธมิตรในการมอบการศึกษาให้เด็กๆ ผู้ลี้ภัยให้ก้าวทันจำนวนผู้ลี้ภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจะล้มเหลว ปลายปี พ.ศ. 2660 มีจำนวนผู้ลี้ภัยราว 25.4 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้ 19.9 ล้านคน เป็นบุคคลในความห่วงใยของ UNHCR มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52 เป็นเด็ก และ 7.4 ล้านคนอยู่ในวัยเรียน
“การศึกษาเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเยียวยาเด็กๆ และยังเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูบ้านเมืองของพวกเขา” นายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ UNHCR กล่าว “เมื่อไร้การศึกษา อนาคตของเด็กๆ เหล่านี้และชุมชนของพวกเขาจะถูกทำลายอย่างถาวร”
เพียงร้อยละ 61 ของเด็กๆ ผู้ลี้ภัยเข้าถึงการศึกษาชั้นประถมศึกษา เมื่อเทียบกับเด็กๆ ทั่วโลกที่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับเดียวกันมากถึงร้อยละ 92
เมื่อเด็กๆ ผู้ลี้ภัยอายุมากขึ้น ช่องว่างขยายขึ้น เกือบ 2 ใน 3 ของเด็กผู้ลี้ภัยที่เข้าเรียนชั้นประถมไม่สามารถศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา โดยรวมแล้วเพียงร้อยละ 23 ของเด็กผู้ลี้ภัยได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 84 เป็นอัตราการเข้าถึงการศึกษาชั้นมัธยมของเด็กๆ ทั่วโลก
การเข้าถึงการศึกษาของเด็กๆ ผู้ลี้ภัยในระดับอุดมศึกษาเหมือนเหวลึก จากสถิติทั่วโลกร้อยละ 37 สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะที่มีเพียงร้อยละ 1 ของผู้ลี้ภัยได้รับโอกาสนั้น และตัวเลขนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
“โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งแรกที่สามารถทำให้เด็กๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติในรอบหลายเดือนหรือหลายปี” นายฟิลลิปโป เสริม “รูปแบบปัจจุบันที่เกิดขึ้นคือจนกว่าจะมีงบประมาณรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จะมีเด็กๆ หลายแสนคนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาและถูกรวมอยู่ในรายงานนี้”
รายงานยังเน้นย้ำถึงความคืบหน้าในการมอบการศึกษาแก่เด็กๆ ผู้ลี้ภัยราว 500,000 คน ที่ไม่ได้รับการศึกษา จากผู้ร่วมลงนามในปฏิญญานิวยอร์กว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพในปี พ.ศ. 2560 ในเวลาเดียวกันปฏิญญานี้ยังเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ลี้ภัยจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพที่พวกเขาสมควรได้รับ
รายงานยังเรียกร้องให้ประเทศที่ให้ที่พักพิงบรรจุเด็กๆ ผู้ลี้ภัยในระบบการศึกษาของชาติด้วยหลักสูตรที่เหมาะสมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าระดับอาชีวศึกษา
รายงานยังกล่าวว่าประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในวัยเรียนถึงร้อยละ 92 เป็นประเทศกำลังพัฒนาและต้องการการช่วยเหลือด้านการเงินอย่างยั่งยืนจากประชาคมโลก
ท้ายที่สุดรายงานยังเรียกร้องความร่วมมือที่แข็งแกร่งจากภาคเอกชน หน่วยงานด้านมนุษยธรรม องค์กรพัฒนาและรัฐบาลเพื่อเพิ่มทางออกทางการศึกษาของผู้ลี้ภัยที่ยั่งยืน
‘Turn the Tide’: วิกฤติการศึกษาของผู้ลี้ภัยเป็นรายงานการศึกษาลำดับที่ 3 จาก UNHCR รายงานแรก Missing Out’ ถูกปล่อยออกมาในปี พ.ศ. 2559 ก่อนการประชุมสุดยอดของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้อพยพในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2559 เรียกร้องให้ผู้บริจาคสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและในจำนวนที่สามารถคาดการณ์ได้เพื่อการศึกษาของผู้ลี้ภัย รายงานลำดับที่ 2 ‘Left Behind’ ถูกปล่อยในปี พ.ศ. 2560 เน้นย้ำถึงช่องว่างของโอกาสระหว่างเด็กผู้ลี้ภัยและเพื่อนๆ ของพวกเขาที่ไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย รวมถึงเรียกร้องให้มีการพิจารณาให้การศึกษาเป็นหนึ่งในการตอบสนองขั้นพื้นฐานในภาวะฉุกเฉินของผู้ลี้ภัย
รายงานประกอบด้วยคำนำโดยนายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ UNHCR และหมายเหตุสุดท้ายโดย แองเจลีนา โจลี ทูตพิเศษ UNHCR
Share on Facebook Share on Twitter