ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ เป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง
UNHCR ทำงานเพื่อคุ้มครองพวกเขา และเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวต่อผลกระทบทั้งในปัจจุบันและอนาคตในขณะเดียวกันเราทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
วิกฤตการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการพลัดถิ่นที่ขยายวงกว้างมากขึ้นและทำให้ชีวิตผู้ที่ถูกบังคับให้ลี้ภัยอยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพลัดถิ่นมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วและสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายลงทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดวิกฤตทางธรรมชาติหลายครั้งและส่วนมากเกิดอย่างกระทันหันและเป็นวิกฤตที่ทับซ้อนวิกฤต ผู้คนถูกคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ความยากจนเพิ่มขึ้น การสูญเสียวิถีชีวิตแบบเดิมที่เคยมี ความสงบระหว่างชุมชนที่เคยมีเกิดความตึงเครียดและท้ายที่สุดส่งผลให้มีการถูกบังคับให้พลัดถิ่นเพิ่มเติม
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นเนื่องจากถูกประหัติประหารจากความขัดแย้งความรุนแรง พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภัยพิบัติและยังไม่มีความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่พวกเขาไม่เคยเจอ
ผู้พลัดถิ่นมักไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลในค่ายผู้ลี้ภัยที่แออัดยัดเยียด หรือพื้นที่พักพิงชั่วคราว โดยการเข้าถึงบริการพื้นฐานหรือโครงสร้างพื้นฐานมีอย่างจำกัด นอกจากนี้ยังต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่ออันตรายจากสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ และคลื่นความร้อน เป็นต้น
นอกจากนี้ วิกฤตสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและทำให้ผู้พลัดถิ่นพึ่งพาตนเองได้ยากขึ้น ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศอาจจะเพิ่มความตึงเครียดและเกิดความขัดแย้งในเรื่องทรัพยากรที่สำคัญ เช่น น้ำ เชื้อเพลิง และพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างประชากรผู้พลัดถิ่นและชุมชนเจ้าบ้านมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศสูง ซึ่งสภาพอากาศที่แปรปรวนและเลวร้ายลงได้เพิ่มความท้าทายในการทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนและการเดินทางกลับอย่างปลอดภัยนั้นเกิดได้ยากมากขึ้น
หากไม่มีความช่วยเหลือในการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน รับมือ และฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พวกเขาอาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้พลัดถิ่นอีกครั้ง การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นต้นตอของการพลัดถิ่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำลายการพลัดถิ่นที่ไม่รู้จบนี้และค้นหาแนวทางการแก้ไขที่ยั่งยืนด้วยกัน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานด้านมนุษยธรรมของ UNHCR เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ที่ https://www.unhcr.org/what-we-do/build-better-futures/climate-change-and-displacement
แคมเปญ NOWHERE TO RUN หรือแคมเปญวิกฤตที่ไม่มีทางออก เป็นแคมเปญระดับโลกของ UNHCR ที่ก่อตั้งในปี 2566 เพื่อระดมทุนช่วยเหลือ หาทางออกให้เด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยรวมทั้งผู้พลัดถิ่นจากสงคราม ภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยตั้งใจที่จะระดมทุนจำนวน 1,200 ล้านยูเอสดอลล่าร์ หรือ 38,000 ล้านบาท สำหรับการทำงานต่อเนื่อง 6 ปี ในปี พ.ศ.2567-2573 เพื่อช่วยผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยใน 22 ประเทศที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างไม่มีทางออก
ร่วมบริจาคโครงการ NOWHERE TO RUN วิกฤตที่ไม่มีทางออกเพื่อช่วยหาทางออกให้เด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากสงครามและภัยพิบัติได้ที่ https://unh.cr/66225412cf
โมซัมบิกเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ทางตอนเหนือ มีความขัดแย้งที่ทำให้มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยจากความขัดแย้งจากประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งไปกว่านั้นโมซัมบิก เป็นหนึ่งใน 22 ประเทศที่เปราะบาง และได้รับผลกระทบจาก climate change มากที่สุดด้วยสภาพภูมิประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ต้องเจอกับไซโคลนเกือบทุกปี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยิ่งทำให้ภัยพิบัติทวีความรุนแรง นอกจากนี้ยังมีน้ำท่วม ภัยแล้ง ที่นำไปสู่ความอดอยากและการพลัดถิ่นซ้ำ
เจ้าหน้าที่ UNHCR พร้อมด้วยคุณกิตติ สิงหาปัด และคุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เดินทางไปยังประเทศโมซัมบิก เพื่อลงพื้นที่พักพิงของผู้พลัดถิ่นในประเทศในชุมชนคอร์รานี ที่เมืองนัมปูลาซึ่งส่วนใหญ่พลัดถิ่นจากความขัดแย้งทางตอนเหนือของประเทศในเมืองคาร์โบ เดลกาโด และต้องมาเจอกับไซโคลนในพื้นที่ และอีกพื้นที่คือค่ายผู้ลี้ภัยมาราทานี เป็นค่ายผู้ลี้ภัยแห่งเดียวของนัมปูลา ที่พักพิงของผู้ลี้ภัยจากหลายประเทศ เช่น คองโก ซูดาน บุรุนดี และอีกหลายประเทศ ซึ่งพักพิงอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาหลายปี
ตอนที่ 1 ข่าวสามมิติ | NOWHERE TO RUN การลงพื้นที่ประเทศโมซัมบิกของคุณกิตติ สิงหาปัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ UNHCR
ตอนที่ 2 ข่าวสามมิติ | NOWHERE TO RUN การลงพื้นที่ประเทศโมซัมบิกของคุณกิตติ สิงหาปัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ UNHCR
สามารถบริจาคเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือในวิกฤตนี้ได้ที่
1. ร่วมบริจาค 10 บาท สนับสนุนการสร้าง Resilient Home ที่พักพิงที่ปลอดภัยและทนทานต่อภัยพิบัติธรรมชาติ
บัญชี: ธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี: UNHCR Special Account
เลขที่บัญชี: 004-225-8596
*ทำรายการเสร็จแล้วส่งสลิปโอนเงินมาที่ LINE ID: @unhcrdonation ระบุ “NOWHERE TO RUN”
2. ร่วมบริจาคผ่านเว็บไซต์ https://unh.cr/66476a0d0
Share on Facebook Share on Twitter