พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกมีนักกีฬาผู้ลี้ภัยร่วมเดินขบวนเปิดภายใต้ธงโอลิมปิกเพื่อแสดงถึงพลังของการกีฬาและสื่อถึงความหวังเพื่อผู้พลัดถิ่นอีก 82 ล้านคนทั่วโลก
Flag bearers Yusra Mardini and Tachlowini Gabriyesos lead the Refugee Olympic Team during the athletes' parade at the Tokyo 2020 Olympics Opening Ceremony.
© REUTERS/Kai Pfaffenbach
© ยุสรา มาร์ดินี และทัคโลวินี กาบรีเยโซส ผู้เชิญธงนำทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยในขบวนเปิดตัวนักกีฬาระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก พ.ศ. 2563 © REUTERS/Kai Pfaffenbach
สมาชิกทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยทั้ง 29 คน ต่างอดทนต่อความลำบากในการหนีออกจากประเทศของตนท่ามกลางความขัดแย้งและการประหัตประหาร และต่างเผชิญความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆ พวกเขาได้เอาชนะอุปสรรคทั้งหมดแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม สมาชิกของทีมได้เดินเข้าสนามอย่างเบิกบานระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก พ.ศ. 2563 ที่ถูกเลื่อนออกมาหนึ่งปีเนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก
สมาชิกทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยทั้ง 29 คน ต่างอดทนต่อความลำบากในการหนีออกจากประเทศของตนท่ามกลางความขัดแย้งและการประหัตประหาร และต่างเผชิญความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆ พวกเขาได้เอาชนะอุปสรรคทั้งหมดแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม สมาชิกของทีมได้เดินเข้าสนามอย่างเบิกบานระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก พ.ศ. 2563 ที่ถูกเลื่อนออกมาหนึ่งปีเนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก
สมาชิกของทีมมีบ้านเกิดมาจาก 11 ประเทศ รวมถึง ซีเรีย ซูดานใต้ อิหร่าน และอัฟกานิสถาน พวกเขาเดินโบกมือให้กล้องขณะเดินเข้าสนามเป็นทีมที่สองต่อจากประเทศกรีซที่นำขบวนนักกีฬาเป็นชาติแรกตามธรรมเนียม
ทีมผู้ลี้ภัยนำโดยผู้เชิญธง 2 คน นักว่ายน้ำยุสรา มาร์ดินี บ้านเกิดมาจากประเทศซีเรีย และนักวิ่งมาราธอน ทัคโลวินี กาบรีเยโซส ผู้พลัดถิ่นจากรัฐเอริเทรีย พวกเขาชูธงสีขาวที่มีสัญลักษณ์ห่วงวงกลมโอลิมปิก 5 ห่วงที่แสดงถึงทวีปทั้ง 5 ของโลกซึ่งจะเป็นธงสัญลักษณ์ที่พวกเขาใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในการแข่งขันโอลิมปิกที่แต่ละทีมมีผู้เดินนำเป็นนักกีฬาชายและหญิงคู่กัน
หลังจากเดินขบวนเปิดเข้าสู่สนามด้วยสูทสีกรมท่าและได้โบกมือทักทายให้กับกล้องแล้ว ทีมผู้ลี้ภัยได้รับการต้อนรับจากนายโธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ระหว่างที่เขากล่าวเปิดงาน
“ถึง นักกีฬาผู้ลี้ภัยทุกท่าน ด้วยความสามารถและจิตวิญญาณของคุณ คุณได้แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างของผู้ลี้ภัยที่ได้รับโอกาสในสังคม” เขากล่าว “คุณต้องพลัดถิ่นจากบ้านเกิดของตนเพราะความรุนแรง ความอดอยาก หรือแค่เพราะคุณแตกต่าง วันนี้เราขอต้อนรับคุณด้วยอ้อมแขนที่เปิดกว้างและพร้อมเป็นบ้านที่สงบสุข ขอต้อนรับสู่ชุมชนโอลิมปิกของเรา”
5 ปีที่แล้วที่นครรีโอเดจาเนโร นักกีฬา 10 คนจาก 4 ประเทศได้รวมตัวขึ้นเป็นทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยทีมแรก คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ก่อตั้งทีมนี้ขึ้นในความร่วมมือกับสํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยและส่งข้อความแห่งความหวังสู่ผู้ลี้ภัยทุก ๆ คนและทั่วโลก
“เรื่องนี้ทำให้เรามีความหวังว่าทั่วโลกได้เห็นเราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง” เจมส์ ยาง เชียงเช็ค ผู้เข้าร่วมแข่งขันวิ่ง 800 เมตร กล่าว เขาเป็นหนึ่งในทีมที่ได้ลงแข่งที่นครรีโอ “กีฬาได้เปิดโอกาสให้กับเราและตอนนี้เราเห็นแล้วว่าผู้ลี้ภัยหลายๆ คนมีความสามารถพิเศษ”
ตอนเป็นเด็กเชียงเช็คต้องหนีออกจากบ้านของตนในประเทศซูดานใต้เพื่อหลบหลีกการถูกบังคับเข้าร่วมกองกำลังเด็กมาเพียงลำพังจนมาถึงที่พักพิงผู้ลี้ภัยคาคูมาที่กำลังขยายตัวออกเรื่อย ๆ และที่นั่นเองที่เขาได้ค้นพบความสามารถในการวิ่งของเขา
ปกติแล้วนักกีฬาที่เดินเข้ามาจะได้รับเสียงต้อนรับอย่างกึกก้องจากผู้ชมในสนาม แต่ด้วยมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้ผู้เข้าชมไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ ปีนี้สนามเงียบกริบอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนและพิธีเปิดการแข่งขันกลายเป็นงานทางโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดให้หลายล้านคนทั่วโลกได้ดู
นายฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้เยือนกรุงโตเกียวในสัปดาห์โอลิมปิกเพื่อมอบกำลังใจให้กับทีมนักกีฬาเล่าว่า การได้ดูทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยเดินเข้าสู่สนามโตเกียวโอลิมปิกนั้น เป็นช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับเขาและเจ้าหน้าที่ UNHCR ทุกคน
“การได้เห็นนักกีฬาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้รับเกียรติและการปรบมือยกย่องบนเวทีโอลิมปิกนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พวกเขาได้เป็นตัวแทนของผู้พลัดถิ่นทั่วโลกอีกกว่า 82 ล้านคน และเป็นการย้ำเตือนทั่วโลกว่า หากผู้ลี้ภัยได้รับโอกาสทำตามฝันและความชื่นชอบแล้ว พวกเขาคือผู้ทำประโยชน์เพื่อสังคมได้อย่างมหาศาลเช่นกัน”
UNHCR ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากลตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เพื่อให้เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการพลัดถิ่นได้มีโอกาสเข้าถึงการกีฬา ในเวลานั้นการพลัดถิ่นทั่วโลกมีสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันที่ทำให้ผู้คนมากกว่า 82 ล้านคนต้องพลัดถิ่นทั่วโลก
ในการเตรียมงานโตเกียวโอลิมปิก คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้สนับสนุนผู้ลี้ภัย 56 คน ด้วยทุนนักกีฬาผู้ลี้ภัยเพื่อช่วยพวกเขาในการฝึกซ้อมคัดตัวเข้าแข่งขัน ทั้ง 29 คนที่ผ่านเข้าร่วมทีมทำคะแนนได้ตรงตามเกณฑ์ รวมถึงเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจาก UNHCR และการยืนยันความสามารถในการเล่นกีฬาในประเภทกีฬาของตนอย่างโดดเด่นจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
จากประเทศต้นทาง ส่วนใหญ่ (9 คน) มาจากประเทศซีเรียที่เผชิญกับความขัดแย้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 อีก 5 คนเคยอาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน 4 คนในประเทศซูดานใต้ และ 3 คนในประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศบ้านเกิดอื่นๆ ได้แก่ เอริเทรีย อิรัก สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แคเมอรูน ซูดาน และเวเนซุเอลา
“การยอมแพ้ไม่ใช่ฉัน”
กาบรีเยโซส วัย 23 ปี หนีการสู้รบในรัฐเอริเทรียมาเมื่ออายุ 12 ปี เดินทางอย่างยากลำบากขึ้นเหนือข้ามประเทศซูดานและอียิปต์ รวมถึงต้องเดินเท้าข้ามทะเลทรายเพื่อไปอิสราเอล ประเทศที่เขาขอสถานะลี้ภัย ปัจจุบันเขาอาศัยและฝึกซ้อมอยู่ในกรุงเทลอาวีฟที่เขาได้วิ่งให้กับสมาคมท้องถิ่นแห่งหนึ่ง
กาบรีเยโซสเริ่มวิ่งในระยะสั้น 3, 5, 10 กิโลเมตรและวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนก่อนจะขึ้นระดับมาราธอน ในเดือนมีนาคม เขาลงวิ่งมาราธอนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่ 2 ทำเวลาได้ 2:10:55 นาที ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์โอลิมปิก “การยอมแพ้ ไม่ใช่ฉัน” เขาได้ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนการแข่งขันโอลิมปิก
ครั้งนี้เป็นการลงแข่งโอลิมปิกครั้งที่ 2 ของมาร์ดินี นักว่ายน้ำวัย 23 ปี ที่ลงแข่งว่ายน้ำ ประเภทผีเสื้อ 100 เมตร เธอมีบ้านเกิดอยู่ในกรุงดามัสกัส มาร์ดินี เคยเป็นนักว่ายน้ำระดับชาติของซีเรียที่ลงแข่งในระดับนานาชาติหลายรายการ แต่เมื่อความขัดแย้งในประเทศทวีความรุนแรงขึ้น เธอและพี่สาวต้องออกจากประเทศใน ปี พ.ศ. 2558 เพื่อพยายามไปให้ถึงยุโรป
“กีฬาช่วยชีวิตฉันไว้”
จากประเทศตุรกี มาร์ดินีลงเรือเล็กเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตรเพื่อไปยังเกาะแห่งหนึ่งของประเทศกรีซ ซึ่งควรจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที เมื่อเครื่องยนต์ของเรือยางบดที่บรรจุผู้โดยสารได้ 6-7 คน แต่ต้องรองรับคนมากถึง 20 คนดับลง เธอและพี่สาวเป็นหนึ่งในคนที่สละเรือเพื่อทำให้น้ำหนักเรือเบาลงและว่ายน้ำช่วยประคองเรือเข้าสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัย
ในที่สุดมาร์ดินีได้เดินเท้าและขึ้นรถโดยสารต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ที่เธอได้อาศัยอยู่ในปัจจุบัน เหมือนนักกีฬาคนอื่น ๆ เธอบอกว่ากีฬาได้มอบความหมายและเส้นทางให้กับชีวิตของเธอในช่วงที่กำลังปรับตัว “ฉันเล่าเรื่องของฉันเพราะอยากให้คนเข้าใจว่ากีฬาได้ช่วยชีวิตฉันไว้อย่างไร” เธอกล่าว
ปัจจุบันในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR หนึ่งในข้อความหลักของเธอคือ ผู้ลี้ภัยคือคนธรรมดาทั่วไปที่ต้องถูกบังคับให้หนีออกจากบ้านเกิดของตนเนื่องจากสถานการณ์ที่พวกเขาไม่อาจควบคุมได้
“ฉันคิดว่านี่คือโอกาสที่พิเศษมากที่ได้เป็นตัวแทนคน (ผู้ลี้ภัย) อีกหลายล้านคนทั่วโลกเพื่อแสดงว่าผู้คนเหล่านี้คือคนธรรมดาคนหนึ่งที่มีความฝัน” มาร์ดินีกล่าวไว้ “ฉันอยากย้ำเตือนทุกคนด้วยว่ายังมีผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายอีกมากมายและพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากพวกเราอยู่”
Share on Facebook Share on Twitter